พายุ ของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559

พายุไต้ฝุ่นเนพาร์ตัก

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา2 – 10 กรกฎาคม
ความรุนแรง205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
900 mbar (hPa; 26.58 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): บุตโชย
  • วันที่ 30 มิถุนายน ช่วงเย็นของวัน JMA เริ่มเฝ้าระวังหย่อมความกดอากาศต่ำที่อยู่ทางตะวันออกของหมู่เกาะแคโรไลน์[9] และหย่อมของอากาศแปรปรวนเริ่มจัดระบบขึ้น
  • วันที่ 1 กรกฎาคม ระบบมีการพัฒนาการไหลเวียนแบบปิด[10]
  • วันที่ 2 กรกฎาคม สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของหย่อมความกดอากาศต่ำเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[11] ภายใต้อิทธิพลของการเลี้ยวกระแสน้ำกำลังอ่อนและน้ำอุ่น ระบบจึงเคลื่อนตัวไปตามแนวทางตะวันตกเฉียงเหนืออย่างช้า ๆ
  • วันที่ 3 กรกฎาคม JMA วิเคราะห์แล้วว่าพายุดีเปรสชันเขตร้อนกลายเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ เนพาร์ตัก (Nepartak)[12] ในระหว่างวัน ร่องโทรโพสเฟียร์ส่วนบนเขตร้อน (Tropical upper tropospheric trough หรือ TUTT) ที่อยู่ทางเหนือของระบบเคลื่อนไปทางตะวันตก ยอมให้ปัจจัยแวดล้อมในพื้นที่โดยตรงของเนพาร์ตัก กลายเป็นพื้นที่ที่เอื้ออำนวย กระตุ้นให้การทวีกำลังแรงนั้นมั่นคง[13]
  • วันที่ 4 กรกฎาคม ภาพถ่ายในช่วงคลื่นไมโครเวฟแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาขึ้นของตาพายุ ภายในการพาความร้อนที่ลึก
  • วันที่ 5 กรกฎาคม นำให้ทั้ง JMA และ JTWC เพิ่มความรุนแรงของเนพาร์ตักเป็นพายุไต้ฝุ่นในไม่ช้าหลังจากนั้น[14][15] ในวันเดียวกันนี้ PAGASA ได้รายงานว่าเนพาร์ตักเคลื่อนตัวเข้ามาในพื้นที่รับผิดชอบ และกำหนดชื่อท้องถิ่นว่า บุตโชย (Butchoy)[16][17]

วันที่ 7 กรกฎาคม มีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ 2 คน หลังจากที่ถูกพัดออกสู่ทะเลโดยลมที่รุนแรงในไต้หวัน[18]

พายุโซนร้อนลูปิต

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา22 – 24 กรกฎาคม
ความรุนแรง75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1000 mbar (hPa; 29.53 inHg)
  • วันที่ 21 กรกฎาคม หย่อมความกดอากาศต่ำพัฒนาขึ้นที่ส่วนท้ายของร่องความกดอากาศต่ำละติจูดกลาง ห่างจากเกาะอิโอะจิมะไปทางทิศตะวันออก 775 กม. (480 ไมล์)[19]
  • วันที่ 22 กรกฎาคม การหมุนเวียนบรรยากาศลึกพัฒนาขึ้นเหนือระบบพายุ ซึ่งยืดออกไปถึงการไหลเวียนระดับต่ำ ก่อนที่มันจะมีความรุนแรงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนโดยสำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA)[19][20]
  • วันที่ 23 กรกฎาคม ขณะที่พายุเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเฉเหนือ ใกล้ ๆ กับแนวร่องกึ่งเขตร้อนของความกดอากาศสูง มันมีองค์ประกอบที่ดีขึ้นตามการพัฒนาขึ้นของแกนอบอุ่นและรวมกัน[21] ระบบผสมมีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ เป็นพายุโซนร้อน 04W โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม ก่อนที่จะได้รับชื่อ ลูปิต จากสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[21]
  • วันที่ 24 กรกฎาคม ลูปิตมีความรุนแรงสูงสุดที่ความเร็วลม 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) ขณะที่มันผ่านไปยังการเปลี่ยนผ่านเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน[22]

พายุโซนร้อนกำลังแรงมีรีแน

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา25 – 29 กรกฎาคม
ความรุนแรง95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
985 mbar (hPa; 29.09 inHg)
  • วันที่ 25 กรกฎาคม มีรีแนถูกบันทึกครั้งแรกเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน มันเคลื่อนตัวไปประชิดชายฝั่งด้านตะวันตกของเกาะลูซอน และลงสู่ทะเลจีนใต้ ห่างจากหมู่เกาะพาราเซลไปทางทิศตะวันออก 300 กม. (185 ไมล์)[23][24] ต่อมาระบบมีการไหลเวียนระดับต่ำที่ศูนย์กลางดีขึ้น เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เอื้ออำนวยอย่างมากสำหรับการพัฒนาที่เพิ่มขึ้น ทั้งมีลมเฉือนแนวตั้งต่ำ และอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่อบอุ่น[24][25]
  • วันที่ 26 กรกฎาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมเริ่มออกคำแนะนำกับระบบ และจัดความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน 05W ขณะที่มันเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตามแนวขอบของแนวกึ่งเขตร้อนของความกดอากาศสูง[25]
  • วันที่ 27 กรกฎาคม ขณะที่ระบบเคลื่อนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเฉเหนือ มันทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อ มีรีแน[23][26] ต่อมามีรีแนเริ่มอ่อนกำลังลงเล็กน้อยตามลำดับ ขณะที่มันเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งใกล้กับว่านหนิงและเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ ก่อนที่จะทวีกำลังแรงขึ้นอีกครั้งเมื่อมันเคลื่อนตัวลงสู่อ่าวตังเกี๋ย[23][27] โดยมีความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงโดยสำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ซึ่งมีการประมาณว่ามีรีแนมีความรุนแรงสูงสุดที่ความเร็วลมต่อเนื่อง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.)[28] ระบบเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งทางใต้ของฮานอย ที่ระยะทาง 110 กม. (70 ไมล์) ในภาคเหนือของเวียดนาม
  • วันที่ 28 กรกฎาคม มันถูกบันทึกครั้งสุดท้าย ขณะที่มันกำลังสลายตัวอยู่ทางเหนือของฮานอย[23][28]

ในวันที่ 29 กรกฎาคม พายุทำให้มีผู้เสียชีวิตห้าคน และผู้สูญหายอีกห้าคน มีความเสียหายกับโครงสร้างพื้นฐานอย่างรุนแรงในภาคเหนือของเวียดนาม โดยมีผลกระทบกับสายไฟฟ้า ทำให้มีกระแสไฟฟ้าดับและมีการตัดกระแสไฟฟ้าในบางพื้นที่ มีรีแนทำให้เรือ 12 ลำล่มลง ทำลายหลังคาบ้าน 1,425 หลัง และถอนทำลายต้นไม้ประมาณ 5,000 ต้น[29]

พายุโซนร้อนกำลังแรงนิดา

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา28 กรกฎาคม – ปัจจุบัน
ความรุนแรง110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
975 mbar (hPa; 28.79 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): การีนา
  • วันที่ 28 กรกฎาคม JMA ปรับความรุนแรงของหย่อมความกดอากาศต่ำที่อยู่ทางตะวันออกของฟิลิปปินส์ ขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[30]
  • วันที่ 29 กรกฎาคม PAGASA เริ่มติดตามระบบและใช้ชื่อว่า การีนา (Carina)

พายุโซนร้อนกำลังแรงโอไมส์

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา3 – 9 สิงหาคม
ความรุนแรง110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
975 mbar (hPa; 28.79 inHg)

พายุโซนร้อนโกนเซิน

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา7 – 15 สิงหาคม
ความรุนแรง85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
985 mbar (hPa; 29.09 inHg)

พายุโซนร้อนกำลังแรงจันทู

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา11 – 17 สิงหาคม
ความรุนแรง100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
980 mbar (hPa; 28.94 inHg)

พายุโซนร้อนเตี้ยนหมู่

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา15 สิงหาคม – 20 สิงหาคม
ความรุนแรง75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
985 mbar (hPa; 29.09 inHg)

พายุไต้ฝุ่นไลออนร็อก

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา16 – 30 สิงหาคม
ความรุนแรง165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
940 mbar (hPa; 27.76 inHg)

พายุไต้ฝุ่นมินดุลเล

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา17 – 23 สิงหาคม
ความรุนแรง120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
975 mbar (hPa; 28.79 inHg)

พายุโซนร้อนคมปาซุ

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา17 – 21 สิงหาคม
ความรุนแรง65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
994 mbar (hPa; 29.35 inHg)

พายุไต้ฝุ่นน้ำเทิน

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา31 สิงหาคม – 5 กันยายน
ความรุนแรง140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
955 mbar (hPa; 28.2 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): เอนเตง

พายุโซนร้อนหมาเหล่า

พายุโซนร้อน (JMA)
ระยะเวลา5 – 7 กันยายน
ความรุนแรง75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1000 mbar (hPa; 29.53 inHg)

พายุไต้ฝุ่นเมอรันตี

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา8 – 16 กันยายน
ความรุนแรง220 กม./ชม. (140 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
890 mbar (hPa; 26.28 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): เฟร์ดี

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 17W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา11 – 12 กันยายน
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1000 mbar (hPa; 29.53 inHg)

พายุโซนร้อนราอี

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา11 – 14 กันยายน
ความรุนแรง65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
996 mbar (hPa; 29.41 inHg)

พายุไต้ฝุ่นมาลากัส

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา12 – 20 กันยายน
ความรุนแรง175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
930 mbar (hPa; 27.46 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): เฮเนร์

พายุไต้ฝุ่นเมกี

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา12 – 20 กันยายน
ความรุนแรง155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
940 mbar (hPa; 27.76 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): เฮเลน

พายุไต้ฝุ่นชบา

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา26 กันยายน – 5 ตุลาคม
ความรุนแรง215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
905 mbar (hPa; 26.72 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): อินเม

พายุไต้ฝุ่นซงด่า

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา4 – 13 ตุลาคม
ความรุนแรง185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
925 mbar (hPa; 27.32 inHg)

พายุโซนร้อนกำลังแรงแอรี

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา4 – 14 ตุลาคม
ความรุนแรง110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
975 mbar (hPa; 28.79 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): ฮูเลียน

พายุไต้ฝุ่นซาเระกา

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา11 – 19 ตุลาคม
ความรุนแรง175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
935 mbar (hPa; 27.61 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): กาเรน
  • วันที่ 11 ตุลาคม สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้เริ่มออกประกาศคำแนะนำเกี่ยวกับพายุดีเปรสชัน ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เฉตะวันออก (ESE) ของมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ระยะทาง 1,200 กม. (750 ไมล์)[31][32]
  • วันที่ 12 ตุลาคม การจัดระเบียบดำเนินไปต่อเนื่อง และต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ปรับเพิ่มระบบเป็นพายุดีเปรสชัน พร้อมกำหนดรหัสเรียกขานว่า 24W ตามลำดับ[33] โดย PAGASA เปิดเผยในภายหลังว่า 24W เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ และกำหนดชื่อพายุท้องถิ่นว่า กาเรน (Karen)[34]
  • วันที่ 13 ตุลาคม ภาพได้แสดงให้เห็นว่ามันมีเมฆศูนย์กลางระดับต่ำ (LLCC) และอธิบายว่ามัน "กว้างออก", และกาเรนยังตั้งอยู่ในพื้นที่ของอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลสูงที่ 31°ซ (88°ฟ)[35] ชั่วโมงถัดมา ทั้งสองหน่วยงานได้ปรับเพิ่มกาเรนเป็นพายุโซนร้อน โดย JMA ได้กำหนดชื่อพายุว่า ซาเระกา[36][37] ถึงอย่างไรก็ตาม ระบบมีการรักษาไว้ซึ่งการทวีกำลังแรงในเวลานั้น การพาความร้อนลึกมีการเพิ่มขึ้นและจัดรูปแบบเป็นแถบ เริ่มโอบรอบเข้าสู่ศูนย์กลางของมัน[38]
  • วันที่ 14 ตุลาคม สามชั่วโมงถัดมา ซาเระกาได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงโดย JMA[39] อีกไม่กี่ชั่วโมงถัดมา ซาเระกาเริ่มจัดรูปเค้าโครงตาพายุ และ JMA ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของซาเระกาเป็นพายุไต้ฝุ่น[40][41] หลังจากการอุปมาอุปมัยได้บรรยายให้เห็นภาพว่าการจัดระเบียบอย่างนัยสำคัญของการพาความร้อนรอบ ๆ ระบบ JTWC จึงได้ปรับเพิ่มความรุนแรงระบบเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1[42]
  • วันที่ 15 ตุลาคม JTWC กล่าวว่า ซาเระกามีการขยายตัวขึ้นและมากขึ้น ด้วยการปรากฏของตาพายุที่รุ่งริ่งขนาดกว้าง 15 ไมล์ทะเล (28 กม. หรือ 17 ไมล์) พร้อมกับปรับเพิ่มความรุนแรงระบบเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2[43] ภายในคำแนะนำฉบับถัดไปของศูนย์ฯ ได้รายงานว่าซาเระกามีความรุนแรงมากเพิ่มขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3[44] ในระหว่างเวลาที่ JTWC จะออกประกาศฉบับถัดไป ซาเระกาได้ทวีกำลังแรงขึ้นสูงสุดเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 เป็นเวลาสั้น ๆ ด้วยความเร็วลมยั่งยืนใน 1 นาทีที่ 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) และความกดอากาศต่ำสุดที่ 935 มิลลิบาร์[45][46]
  • วันที่ 16 ตุลาคม ในช่วงแรกของวัน PAGASA แถลงว่าซาเระกาได้พัดขึ้นฝั่งที่บาเลร์ จังหวัดออโรรา[47] ทำให้มันเกิดการอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วขณะที่ซาเระกาเคลื่อนไปบนหมู่เกาะ ต่อมาพายุได้เข้าสู่ทะเลจีนใต้เพียงสิบสองชั่วโมงหลังจากนั้น ซาเระกาอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง[48] ปัจจัยแวดล้อมซึ่งไม่ปรารถนา ทำให้ซาเระกาอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนขั้นน้อยสุด ในขณะที่พายุเริ่มเคลื่อนที่เบนออกจากเส้นทาง (ดริฟท์) ไปตามแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มุ่งไปยังประเทศเวียดนาม[49]

พายุไต้ฝุ่นไหหม่า

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา13 – 21 ตุลาคม
ความรุนแรง215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
900 mbar (hPa; 26.58 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): ลาวิน
  • วันที่ 13 ตุลาคม สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้เริ่มติดตามเส้นทางเดินของพายุดีเปรสชันกำลังอ่อน ซึ่งอยู่ห่างจากเกาะกวมไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เฉใต้ (SSE) ที่ระยะทาง 704 กม. (437 ไมล์)[50]
  • วันที่ 14 ตุลาคม ต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้กำหนดรหัสเรียกขานว่า 25W[51]
  • วันที่ 15 ตุลาคม อีกสามชั่วโมงถัดมา ในช่วงแรกของวัน JMA ระบุว่า 25W ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้กำหนดชื่อพายุว่า ไหหม่า[52] ในขณะเวลานั้น ไหหม่าได้ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมซึ่งปรารถนา ด้วยปริมาณความจุความร้อนระดับสูงมากของผืนมหาสมุทร, ปริมาณลมเฉือนที่ต่ำมาก และอุณหภูมิพื้นผิวทะเล (SST) ที่อบอุ่น[53]
  • วันที่ 16 ตุลาคม สามชั่วโมงถัดมา ไหหม่า ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง[54] ด้วยกระแสไหลออกแผ่รัศมีได้ดีมาก และยังคงตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมซึ่งปรารถนาอย่างสุดขีด ไหหม่า จึงได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 อย่างรวดเร็ว โดยในสุดท้าย PAGASA ได้ประกาศว่าไหหม่าเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ แล้ว และกำหนดชื่อให้กับพายุว่า ลาวิน (Lawin)
  • วันที่ 18 ตุลาคม ไหหม่ายังคงทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้ทวีกำลังแรงที่สุดเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ในช่วงท้ายของวัน

พายุไต้ฝุ่นเมอารี

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา31 ตุลาคม – 7 พฤศจิกายน
ความรุนแรง150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
955 mbar (hPa; 28.2 inHg)


พายุโซนร้อนหมาอ๊อน

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา8 – 13 พฤศจิกายน
ความรุนแรง75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
998 mbar (hPa; 29.47 inHg)


พายุโซนร้อนโทกาเงะ

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา23 – 28 พฤศจิกายน
ความรุนแรง85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
994 mbar (hPa; 29.35 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): มาร์เซ


พายุไต้ฝุ่นนกเต็น

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา21 – 28 ธันวาคม
ความรุนแรง185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
915 mbar (hPa; 27.02 inHg)
ชื่อท้องถิ่นของ PAGASA (ฟิลิปปินส์): นีนา

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2546 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2547 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 http://199.9.2.143/tcdat/tc16/WPAC/05W.MIRINAE/tra... http://www.ctvnews.ca/world/death-toll-rises-to-15... http://www.globaltimes.cn/content/1013460.shtml http://www.mca.gov.cn/article/yw/jzjz/zqkb/zqhz/20... http://www.mca.gov.cn/article/yw/jzjz/zqkb/zqhz/20... http://www.mca.gov.cn/article/yw/jzjz/zqkb/zqhz/20... http://tcdata.typhoon.gov.cn/en/ http://tcrr.typhoon.gov.cn/EN/article/downloadArti... http://www.nmc.cn/publish/typhoon/warning.html http://www.australiasevereweather.com/cyclones/200...